Service
ระบบเหยื่อ
วรรณะปลวก
วรรณะกรรมกร ปลวกกรรมกร เป็นได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่อยู่ในสภาวะที่ไม่สมบูรณ์ทางด้านร่างกายและทางด้านการสืบพันธุ์ ปลวกกรรมกรเป็นวรรณะที่มีจำนวนมากที่สุดภายในรัง โดยทำหน้าที่หาอาหาร เก็บรักษาอาหาร ดูแลตัวอ่อน บำรุงรักษารัง ซ่อมแซมรัง พร้อมทั้งสร้างอุโมงค์ทางเดินปลวก วรรณะกรรมกรเป็นวรรณะเดียวที่สามารย่อยเซลลูโลสในไม้ได้โดยใช้โปรโตซัวในกลุ่มแฟลกเจลเลต (Flagellate) ที่อยู่ในลำไส้ปลวกที่ช่วยย่อยเซลลูโลส เมื่อทางเดินปลวกถูกรบกวน จะพบปลวกกรรมกรเป็นชนิดแรก
วรรณะทหาร ปลวกทหาร เป็นได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีหน้าที่หลักๆคือการปกป้องรัง โดยปลวกทหารจะมีขากรรไกรขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการต่อสู้ ซึ่งไม่สามารถกัดกินอาหารเองได้ จึงต้องอาศัยปลวกงานในการป้อนอาหารโดยการสำรอกออกมา ปลวกทหารจะไม่สามารถมองเห็นได้ เว้นแต่บางรังที่มีปลวกทหารพัฒนามาจากวรรณะสืบพันธุ์ จะมีดวงตาที่สามารถมองเห็นได้บางส่วน เราใช้ปลวกทหารในการจำแนกสายพันธุ์โดยดูจากลักษณะหัว ขากรรไกร และปาก เนื่องจากแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป
วรรณะสืบพันธุ์ แมลงเม่า หรือ ปลวกสืบพันธุ์ จะมีปีกสองคู่ที่มีขนาดเท่ากัน แมลงเม่ามีตาหนึ่งคู่ที่สามารถมองเห็นได้และดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะขาดน้ำ ปลวกวรรณะนี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นมดบิน จึงทำให้ขาดความระมัดระวังและไม่ตระหนักถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพบแมลงเม่าในพื้นที่
ปลวกวรรณะสืบพันธุ์มีบทบาทสำคัญในการสร้างอาณาจักรใหม่ ปลวกสืบพันธุ์มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ “ปลวกสืบพันธุ์” “ปลวกสืบพันธุ์สำรอง” และ “ปลวกสืบพันธุ์ขั้นสาม”
ปลวกวรรณะสืบพันธุ์ คือ แมลงเม่าที่รอดชีวิตในการ “บินหาคู่เพื่อผสมพันธุ์” หลังจากนั้นจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างอาณาจักร วางไข่ และดูแลตัวอ่อนในชุดแรก
เมื่ออาณาจักรปลวกเริ่มใหญ่ขึ้น ปลวกราชินีไม่สามารถวางไข่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ปลวกสืบพันธุ์สำรองจะรับหน้าที่วางไข่ต่อเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ถึงแม้ว่าปลวกสืบพันธุ์สำรองจะมีประสิทธิภาพในการวางไข่ได้ไม่ดีเท่าปลวกราชินี แต่ด้วยจำนวนที่มีมากเป็นร้อยๆตัว จึงสามารถวางไข่แทนราชินีได้อย่างสมบูรณ์แบบ ปลวกสืบพันธุ์ขั้นสามคือปลวกกรรมกรที่ได้รับการพัฒนามาอย่างสมบูรณ์เพื่อรับหน้าที่ในการวางไข่เมื่ออาณาจักรบางส่วนถูกแยกออกจากอาณาจักรแม่ โดยปลวกชนิดนี้จะไม่มีปีกและมีลักษณะคล้ายปลวกกรรมกรแต่มีขนาดใหญ่กว่า
ความแตกต่างระหว่างปลวกและมด
มีความแตกต่างหลักสามข้อทางด้านสัณฐานวิทยา ที่แยกแยะลักษณะปีกของปลวก และ มด ปลวกจะมีหนวดที่เป็นปม (beaded antennae) ซึ่งมีลักษณะตรง และโค้งงอเล็กน้อย ในขณะที่มดมีหนวดที่โค้งและหักลง (elbowed antennae) ปลวกชนิดมีปีกจะมีเอวที่กว้าง แต่มดจะมีส่วนเอวที่คอด ปีกของปลวกจะมีขนาดเท่ากันทั้งหมด ในขณะที่มดจะมีปีกคู่หน้าที่ยาวกว่าคู่หลังมาก
ปลวกเข้ามาภายในบ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างได้อย่างไร
ปลวกจะมีการเคลื่อนไหวภายในดินอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาแหล่งอาหาร ถ้าหากในวันนี้บ้านของคุณยังไม่พบการเข้าทำลายของปลวกก็ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่าพรุ่งนี้จะไม่พบ ปลวกสามารถผ่านช่องว่างที่มีแคบเท่าความหนาของกระดาษเพื่อเข้าทำลายบ้านคุณได้ ปลวกจะตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้นและอุณหภูมิได้ดี รอยแตก รอยแยกของอาคาร รอยต่อผนัง ข้อต่อของท่อประปาหรือท่ออื่นๆ ล้วนเป็นช่องทางที่ปลวกสามารถเข้าสู่ตัวอาคารได้
แม้ว่าลักษณะการหาอาหารของปลวกจะเป็นแบบสุ่ม แต่จากการศึกษาพบว่า ปลวกจะสร้างทางเดินในรูปแบบวงรัศมี โดยจะมีการแบ่งเส้นทาง และแบ่งออกต่อไปอีกเรื่อยๆ เพื่อที่จะสามารถครอบครองพื้นที่ในบริเวณกว้างที่สุดเท่าที่ทำได้ ปลวกจึงสามารถเข้ามาสร้างความเสียหายแก่บ้านของคุณได้ไม่ช้าก็เร็ว
อะไรคือสัญญาณเตือน
ปลวกจะไม่ค่อยออกมากินบนพื้นผิวด้านบน ส่วนใหญ่ คุณจะค้นพบว่ามีปลวก เมื่ออาณาจักรของมันใหญ่เกินไปแล้ว และได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณที่เราสามารถสังเกตุได้
- มีแมลงเม่าในบ้าน หรือบริเวณบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณใกล้ ๆ แสงไฟเมื่อหลังฝนตก
- ทางเดินดินที่ขึ้นมาจากพื้นบ้านมีทิศทางขึ้นไปด้านบนของบ้าน
- มีปีกแมลงเม่าหล่นอยู่ใกล้ประตูและน้าต่าง
- สีที่ทาบนไม้เริ่มบวมขึ้น และเมื่อเคาะดูจะมีเสียงกลวง
- เสียงปลวกที่กัดกิน และเคาะพื้นผิวไม้
แนวคิดของระบบเหยื่อ
ระบบการใช้เหยื่อล่อปลวก จะใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมทางธรรมชาติ ที่เป็นสัตว์สังคมและมีการแบ่งปันอาหารให้กันภายในรัง ในกระบวนการที่เรียกว่า “Trophallaxis” เหยื่อจะมีส่วนผสมของสารพิษประเภทออกฤทธิ์ช้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้ปลวกตัวที่กินเหยื่อเข้าไป นำอาหารกลับไปยังรังเพื่อแบ่งเหยื่อพิษนี้ให้แก่ปลวกตัวอื่นๆได้ทันก่อนที่สารจะออกฤทธิ์ จึงมั่นใจได้ว่าปลวกที่อยู่ภายในรังจะได้รับเหยื่อพิษเช่นกัน
กุญแจสำคัญของแนวคิดนี้ คือ การใช้ระบบเหยื่อที่ดึงดูดปลวกเข้ามายังสถานีและปลวกสามารถนำเหยื่อกลับไปยังรังของมันได้ เมื่อปลวกได้รับสารที่ออกฤทธิ์ช้านี้ จะค่อยๆลดจำนวนปลวกลงและไม่สามารถดูแลรังได้อีกต่อไป ส่งผลให้ปลวกตายยกรังได้ในที่สุด
ทำไมต้องใช้เหยื่อ
การกำจัดปลวกแบบดั้งเดิม จะทำโดยการขุดเจาะพื้นและอัดน้ำยาเคมีลงไปในดิน ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่างๆจากสารเคมี อีกทั้งยังสร้างความเสียหายเพิ่มเติมแก่โครงสร้างอาคาร เมื่อเปรียบเทียบกับการกำจัดปลวกโดยใช้ระบบเหยื่อแล้ว จะไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้สารเคมีในปริมาณที่น้อยมาก ไม่เกิดการปนเปื้อนแก่บริเวณรอบข้าง มีแนวโน้มในการเกิดอันตรายต่ำมาก ระบบเหยื่อจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดปลวก เพราะสามารถใช้ในพื้นที่ที่ไวต่อสารเคมีและยังสามารถกำจัดปลวกได้ถึงรังอีกด้วย
ระบบเหยื่อมี 2 รูปแบบ คือ การติดตั้งบนดินและการติดตั้งใต้ดิน ซึ่งตัวสถานีถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้ปลวกเข้ากินเหยื่อได้ง่ายขึ้น
ก้อนเหยื่อ ประกอบด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโตที่สามารถกำจัดปลวกใต้ดินได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังง่ายต่อการใช้งานและติดตั้งโดยไม่ต้องทำการขุดเจาะพื้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมปลวกจะถูกดึงดูดด้วยเหยื่อล่อภายในสถานี ถึงแม้ว่าจะมีแหล่งอาหารอื่นๆในบริเวณใกล้เคียงก็ตาม สารควบคุมการเจริญเติบโตแบบออกฤทธิ์ช้าในเอ็กซ์เทอม (Xterm™) ยังถูกนำกลับไปยังรังและถูกแบ่งปันไปยังปลวกตัวอื่นๆกินก่อนที่สารจะออกฤทธิ์ วิธีนี้จะส่งผลได้ถึงปลวกราชาและปลวกราชินีกล่าวอีกทางหนึ่ง เอ็กซ์เทอม (Xterm™) สามารถกำจัดหัวใจสำคัญของรังปลวกได้นั่นเอง
ประโยชน์ของระบบเหยื่อ
- ได้ผลเร็ว
- ติดตั้งง่าย ไม่ยุ่งยาก
- ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- การออกแบบกล่องสถานีเหยื่อแบบไม่รุกล้ำ
- มีเอกลักษณ์ รูปแบบเซลลูโลสอัดที่น่าดึงดูดเป็นอย่างมาก
นัดสำรวจพื้นที่
เมื่อคุณลูกค้าโทรนัดวันและเวลา ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจพื้นที่โดยให้คำปรึกษาและประเมินราคาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
วางแผน
เมื่อทราบขอบเขตของงานเป็นที่เรียบร้อย ทางบริษัทจะกำหนดจำนวนและชนิดเคมีที่เข้าใช้อย่างเหมาะสม
วิธีการกำจัด
พนักงานผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมการกำจัดแมลงรบกวน จะเข้าแก้ไขปัญหาให้คุณ หมดกังวลปัญหาเรื่องแมลงรบกวน
ติดตามผลและดูแลคุณ
หลังจากกำจัดและป้องกันเรียบร้อย ทางบริษัทยินดีรับประกันคุณภาพงานบริการตามเงื่อไขที่ระบุในสัญญา หากเกิดปัญหาขึ้นซ้ำทางเรายินดีเข้ากำจัดให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ติดต่อเรา
ติดต่อเข้าสำรวจพื้นที่ ฟรี
Call center : 02-030-0663